วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2556
สัปดาห์ที่8

สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนสอนเนื่องจากเป็นสัปดาห์สอบกลางภาค



วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2556
สัปดาห์ที่7

ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากตรงกับการแข่งกีฬาของมหาวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม 2556
สัปดาห์ที่6




    ๑๐ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ และเป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

    การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทยเนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่ใช้กันมาเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
๑.พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
๒. หลังสงครามโลกครั้งที่ ๑ เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ
๓. อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการณ์ทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน
๔. รัฐบาลได้ออกกฎหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดินจากราษฎร 

   จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฎิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร
ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเนย์เป็นผู้บริหารประเทศ
วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระสำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ ได้แก่ การที่กำหนดว่า อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
     ๑. พระมหากษัตริย์
     ๒. สภาผู้แทนราษฎร
     ๓. คณะกรรมการราษฎร
     ๔. ศาล
   ลักษณะการปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของประเทศเป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฎิบัติราชการต่างๆจะต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎร จึงจะใช้ได้สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้ว จึงจะมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้ว พิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิมกระทั่งถึงวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวรซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิ ได้เปลี่ยนระบอบการปกครอง เป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมือง เป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้บริการราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนได้ หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญของรัฐซึ่งมีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎรเลือกตั้งใหม่ ในส่วนเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์นั้น ได้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น ที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้  อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนถึงปัจจุบันรัฐธรรมนูญไทยมีทั้งสิ้น ๒๐ ฉบับ แต่ถ้านับเฉพาะฉบับที่สำคัญจะมีเพียง ๑๓ ฉบับดังนี้
๑. ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๕ เดือน ๑๓ วัน
๒.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช ๒๔๗๕ ประกาศใช้บังคับเมื่อ วันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑๓ ปี ๕ เดือน
๓. รัฐธรรมนูญฉบับราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๘๙ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศและการบังคับใช้ ๑ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน
๔. รัฐธรรมนูญแห่งอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๔๙๐ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ รวมอายุการประกาศใช้ ๑ ปี ๔ เดือน ๑๔ วัน
๕. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี ๘ เดือน ๖ วัน
๖. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๕ ประกาศและบังคับใช้ วันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ รวมอายุและประกาศบังคับใช้ ๖ ปี ๗ เดือน ๑๒ วัน
๗. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๐๒ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๒ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๙ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน
๘. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๑ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๓ ปี ๔ เดือน ๒๐ วัน
๙. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๑๕ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้เมื่อ วันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๙ เดือน ๒๒ วัน
๑๐. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๗ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๒ ปี
๑๑. รัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๑๙ ประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี
๑๒. ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช ๒๕๒๐ รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ ๑ ปี ๑๓ วัน
๑๓. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๒๑ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้
      
    รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคมเพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ ๑๐ ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

   อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นอนุสรณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากเดิมแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นแบบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2475 โดยสิ่งก่อสร้างที่เป็นองค์ประกอบของอนุสาวรีย์ มีความหมายตามสัญลักษณ์ต่าง ๆ ดังนี้
1. พาน รัฐธรรมนูญ มีความสูง 3 เมตร สื่อถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ( อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ) ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2. พระขรรค์ทั้ง 6 (ที่ติดอยู่ตรงฐานทรงกลมใต้พาน) หมายถึง หลัก 6 ประการ ที่เป็นนโยบายในความเสมอภาค เสรีภาพ เศรษฐกิจ การศึกษา และเอกราช
3. ปีก 4 โดยรอบอนุสาวรีย์ แต่ละปีกมีความสูง 24 เมตร สื่อถึงวันที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือวันที่ 24 มิถุนายน 2475
4. ภาพนูนต่ำบนฐานทั้ง 4 ของปีก แสดงให้เห็นถึงภาพเหตุการณ์และความพร้อมเพรียงในการปฏิบัติการของคณะปฏิวัติ
5. ปืน ใหญ่จำนวน 75 กระบอก (ปากกระบอกปืนฝังลงดิน) โดยรอบฐานของอนุสาวรีย์ที่มีโซ่เหล็กร้อยไว้ หมายถึงปีที่ทำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (เลข 75 เป็นเลขท้ายสองหลักของปี พ.ศ.2475 ) ส่วนโซ่ที่ร้อยไว้ด้วยกัน หมายถึงความสามัคคีพร้อมเพรียงของคณะปฏิวัติ


วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม 2556
สัปดาห์ที่5

วันนี้อาจารย์แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน และมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มเตรียมตัวนำเสนอหัวข้อที่กลุ่มของตนเองจับฉลากได้ในสัปดาห์ต่อไป

*เนื่องจากอุปกรณ์ในห้องเรียนมีปัญหาจึงไม่มีการเรียนการสอนแต่ได้มอบหมายงานแทน*

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2556
สัปดาห์ที่4

อาจารย์ได้สอนในเรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)
     - เด็กที่ควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
     - เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
     - ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเรียบร้อย

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ สามารถ แบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้ คือ
     - เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
     - เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้

เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ
     - วิตกกังวล
     - หนีสังคม
     - ก้าวร้าว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้
     - สภาพแวดล้อม
     - ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล

ผลกระทบ
     - ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เหมือนเด็กปกติ
     - รักษาความสัมพันธ์ กับเพื่อนหรือครูไม่ได้
     - มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
     - มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกด อารมณ์
     - แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
     - มีความหวาดกลัว

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
     - เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
     - เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
     - เรียกโดยย่อๆว่า ADHD
     - เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
     - เด็กบางคนมีปัญหา เรื่องสมาชิกบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยังยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียก            ว่า Attention Deficit Disorders (ADD)

ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์
     - อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน
     - ติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
     - ดูดนิ้ว กัดเล็บ
     - หงอยเหงา เศร้าซึม หนีสังคม
     - เรียกร้องความสนใจ
     - อารมณ์หวั่นไหวง่าย ต่อสิ่งเร้า
     - อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว
     - ฝันกลางวัน
     - พูดเพ้อเจ้อ

เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้( Children with Learning Disabilities)
     - เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability)
     - เด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้เฉพาอย่าง
     - เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
     - ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจาก ความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย

ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
     - มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
     - ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
     - เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
     - มีปัญหาด้านการ อ่าน เขียน
     - ซุ่มซ่าม
     - รับลูกบอลไม่ได้
     - ติดกระดุมไม่ได้
     - เอาแต่ใจตนเอง

เด็กออทิสติก (Autistic)
     - ออทิซึ่ม(Autism)
     - เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
     - เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
    - ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2556
สัปดาห์ที่3

  -ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนเนื้อหาต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว 
    เรื่อง เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ และ เรื่องเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และ ภาษา

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ (Children with Physical and Health  Impairments) มีดังนี้ คือ
    - เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
    - อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
    - มีปัญหาทางระบบประสาท
    - มีความลำบากในการเคลื่อนไหว

  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และสุขภาพ  จำแนกได้เป็น 2 ประเภท  
    1.อาการบกพร่องทางร่างกาย
    2.ความบกพร่องทางสุขภาพ

    1.อาการบกพร่องทางร่างกาย 
         เด็กซีพี (Cerebral Palsy) 
    - เป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือ เป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
    - การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพีมีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆของสมองแตกต่างกัน 

อาการของโรค
-อัมพาตเกร็งแขนขา หรือ ครึ่งซีก (Spastic)
-อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid)
-อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia)
-อัมพาตตึงแข็ง (Rigid)
-อัมพาตแบบผสม (Mixed)

กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy)
-เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว
-เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้  นอนอยู่กับที่ 
-จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ  (Orthopedic)
   คือ ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot)กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida)
-ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่นวัณโรค กระดูก  หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนองเศษกระดูกผุ
-กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ

โปลิโอ (Poliomyelitis)
    คือ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
- ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
- แขนขาด้วนแต่กำเนิด ( Limb Deficiency)

โรคกระดูกอ่อน ( Osteogenesis  Imperfeta )

   2. ความบกพร่องทางสุภาพ
     โรคลมชัก (Epilepsy)
    เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติของระบบสมอง 
   - ลมบ้าหมู (Grand Mal) 
     - เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึก ในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
   - การชักในช่วงเวลาสั้นๆ (Petit Mal)
     - มีอาการ ชักชั่วระยะสั้นๆ5-10 วินาที 
     - เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงัก ในท่าก่อนชัก 
     - เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
  - การชักแบบรุนแรง ( Grand Mal) 
     - เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราวๆ 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และ นอนหลับไปชั่วครู่
  - อาการชักแบบ (Partial Complex) 
     - เกิดอาการเป็นระยะๆ 
     - กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา 
     - บางคนอาจเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
  - อาการแบบไม่รู้ตัว (Focal Partial) 
     - เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ เช่น ร้องเพลง  ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก

โรคอื่นๆ ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคศรีษะโต โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เลือดไหลไม่หยุด เป็นต้น

  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
     -มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
     -ท่าเดินคล้ายกรรไกร
     -เดินขากะเผลก หรือ อึดอาดเชื่องช้า
     -ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
     -มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
     -หน้าแดงง่าย  มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปาก หรือ ปลายนิ้ว 
     -หกล้มบ่อยๆ
     -หิวและกระหายน้ำอย่างเกินกว่าเหตุ

 5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา (Children with Speech and Language Disorders) 
   เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้น  การใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด

  1.ความผิดปกติด้านการออกเสียง
     -ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม 
     -เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
     -เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด  เป็นฟาด
  2.ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
  3.ความผิดปกติด้านเสียง 
     -ระดับเสียง 
     -ความดัง
     -คุณภาพของเสียง
  4.ความผิดปกติทางการพูด และภาษาอันเนื่องมาจาก พยาธิ สภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า (Dysphasia หรือ aphasia) มีดังนี้
    4.1 Motor aphasia 
       -เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง แต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก 
       -พูดช้าๆพอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
       -พูดไม่ถูกไวยากรณ์
    4.2 Wernicke 's apasia 
       -เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งได้ยินแต่ไม่เข้าใจ ความหมาย
       -ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
    4.3 Conduction aphasia 
       -เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตาม หรือ บอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
    4.4 Nominal aphasia 
       -เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตุไม่ได้เพราะลืมชื่อ บางทีก็ไม่เข้าใจความหมายของคำ มักเกิด ร่วมไปกับ Gerstmann's syndrome
    4.5 Global aphasia 
       -เด็กที่ไม่เข้าใจทั้งภาษาพูด และภาษาเขียน 
       -พูดไม่ได้เลย
    4.6 Sensory agraphia 
       -เด็กที่เขียนเองไม่ได้ เขียนตอบคำถาม หรือ เขียนชื่อวัตถุ ก็ ไม่ได้ มักเกิดร่วมกับ Gerstmann's syndrome
    4.7 Motor agraphia 
       -เด็กที่ลอกตัวเขียน หรือ ตัวพิมพ์ ไม่ได้
       -เขียนตามคำบอกไมได้
    4.8 Cortical alexia 
       -เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
    4.9 Motor alexia
       -เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ เข้าใจความหมาย แต่อ่านออกเสียงไม่ได้
    4.10 Gerstmann's syndrome
       -ไม่รู้ชื่อนิ้ว (Finger agnosia)
       -ไม่รู้ชี้ซ้ายขวา (Allochiria)
       -คำนวณไม่ได้ (Acalculia)
       -เขียนไม่ได้ (Agraphia)
       -อ่านไม่ออก(Alexia)
    4.11 Visual agnosia 
       -เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
    4.12 Auditory agnosia
       - เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยิน แต่แปลความหมายของคำ หรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ

  ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
     -ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องไห้เบาๆ และอ่อนแรง
     -ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10เดือน
     -ไม่พูดภายในอายุ 2ขวบ
     -หลัง 3 ขวบ แล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
     -ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
     -หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถาศึกษา
     -มีปัญหาในการสื่อความหมาย พูดตะกุกตะกัก
     -ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย


วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2556
สัปดาห์ที่2

    -ในสัปดาห์นี้อาจารย์ได้สอนในเรื่อง " เด็กที่มีความต้องการพิเศษ "

  
ความหมาย
   
 - ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า " เด็กพิการ "  คือเด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกาย การสูยเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
   - 
ทางการศึกษา ให้ความหมายว่า เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจากเด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตร กระบวนการที่ใช้ และการประเมินผล

  
สรุปได้ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
      - 
เด็กที่ไม่สามารถพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ได้เท่ากับเด็กปกติที่เรียนในรูปแบบเดียวกัน
      -
มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา และอารมณ์
      -
จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือ การบำบัด และฟื้นฟู
      -
จัดการเรียนการสอนที่เหมาะกับลักษณะ และความต้องการของเด็กแต่ละคน

  
แบ่งได้ เป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ๆ คือ

  1. 
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
         คือ 
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วๆไปว่า " เด็กปัญญาเลิศ " IQ 120 ขึ้นไป
  2. 
กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
         
กระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
          1.
เด็กบกพร่องทางสติปัญญา
          2.
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
          3.
เด็กบกพร่องทางการเห็น
          4.
เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
          5.
เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
          6.
เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
          7.
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
          8.
เด็กออทิสติก
          9.
เด็กพิการซ้อน

 1. 
เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
           
หมายถึง เด้กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเทียบเด็กในระดับอายุ       เดียวกัน  มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และ เด็กปัญญาอ่อน

     
เด็กเรียนช้า
       -  
สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
       -  
เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
       -  
ขาดทักษะในการเรียนรู้
       -  
มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
       -  
มีระดับสติปัญญา ( IQ ) ประมาณ 71- 90

        
สาเหตุ ของการเรียนช้า
           1.  
ภายนอก            

           2.  ภายใน
     
         
ภายนอก
           -
เศรษฐกิจของครอบครัว
           -
การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
           -
สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
           -
การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
           -
วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ

          
ภายใน
           -
พัฒนาการช้า
           -
การเจ็บป่วย

          
เด็กปัญญาอ่อน
            -  
เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก
            -  
แสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับสติปัญญาต่ำ
            -  
มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
            -  
มีความจำกัดทางด้านทักษะ
            -  
มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
            -  
มีความสามรถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
       
           
เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา ( IQ )  ได้ 4 กลุ่ม
           1.  
เด็กปัญญาอ่อน ขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20  ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
           2.  
เด็กปัญญาอ่อน ขนาดหนัก IQ 20-34 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ  2 กลุ่มนี้ โดยทั่วไป เรียกว่า C.M.R ( Custodial Mental Retardation )
           3.  
เด็กปัญญาอ่อน ขนาดปานกลาง IQ 35- 49 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆได้ สามารถฝึกอาชีพ หรือ ทำงานง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้ เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R ( trainable Mentally Retarded )
           4.  
เด็กปัญญาอ่อน ขนาดน้อย IQ 50-70 เรียนในระดับประถมศึกษาได้ สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได้ เรียกโดยทั่วไปว่า E.M.R ( Educable mentally Retarded )

        
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
            -  
ไม่พูด หรือ พูดได้ไม่สมวัย
            -  
ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
            -  
ความคิด และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
            -  
ทำงานช้า
            -  
รุนแรง ไม่มีเหตุผล
            -  
อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
            -  
ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
         
    2.
เด็กบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired)
             
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และ เด็กหูหนวก

         
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
       
จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
          1. 
เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 dB
             - 
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่น เสียงกระซิบ หรือ เสียงจากที่ไกลๆ
          2. 
เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินระหว่าง 41-55 dB
             -  
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติ ในระยะห่าง 3-5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด
             -  
จะไม่ได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
             -  
มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดกปติ
          3. 
เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินระหว่าง56-70 dB
             -  
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูด
             -  
เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
             -  
มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
             -  
มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
             -  
พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
          4. 
เด็กหูตึงระดับรุนแรง 71-90 DB
             -  
เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียง และ การเข้าใจคำพูดอย่างมาก
             -  
ได้ยินเฉพาะดังใกล้หู 1ฟุต
             -  
การพูดคุยต้องตระโกน หรือ ให้เครื่องขยายเสียง
             -  
เด็กมักพูดไม่ชัด และมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด

        
เด็กหูหนวก
             -  
สูญเสียการได้ยิน
             -  
เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
             -  
ไม่เข้าใจภาษาพูด
             -  
ระดับได้ยิน ตั้งแต่ 91 DB ขึ้นไป

        
ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
             -  
ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี
             -  
ไม่พูด แสดงท่าทาง
             -  
พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
             -  
พูดด้วยเสียงแปลกๆมักเปล่งเสียงสูง
             -  
พูดด้วยเสียงต่ำ หรือดังเกินกว่าจำเป็น
             -  
เวลาฟังมักจจะมองปากผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
             -  
ไวต่อการสั่นสะเทือน การเคลื่อนไหวรอบตัว
             -  
มักจะทำหน้าเด๋อ เมื่อมีการพูดด้วย

    3.
เด็กบกพร่องทางการเห็น ( Children with Visual Impairments)
             -  
เด็กที่มองไม่เห็น หรือพอเห็นแสง เห็นเลือนลาง
             -  
บกพร่องสายตา 2ข้าง
             -  
สามารถมองได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
             -  
มีลานสายตา กว้างไม่เกิน 30 องศา
               
เด็กบกพร่องทางสายตา สามารถ แบ่ง2ประเภท คือ เด็กตาบอด และ เด็กตาบอกไม่สนิท

           
เด็กตาบอด
                -  
ไม่สามารถมองเห็น
                -  
ใช้ประสาทสัมผัสในการเรียรู้
                -  
มีตาข้างดี มองเห็นได้ในระยะ6/60 ,20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
                -  
ลานสายตาเฉลี่ย อย่างสูงสุด แคบสุด 50 องศา

             
เด็กตาบอดไม่สนิท
                -  
เด็กบกพร่องทางสายตา
                -  
มองเห็นได้ข้างเดียว ไม่เท่ากับเด็กปกติ
                -  
เมื่อทดสอบสายตาข้างดี ระดับ 6/18.20/60,6/60, 20/200 น้อยกว่านั้น
                -  
ลานสายตาสุดกว้างไม่เกิน 30องศา

             
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
                -  
เดินงุ่มง่าม ชน และสะดุดวัตถุ
                -  
มักบ่นว่าปวดศรีษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
                -  
ก้มศรีษะชิดกับงาน
                -  
เพ่งตา หรี่ตา
                -  
ตาและมือ ไม่สัมพันธ์กัน
                -  
มีความลำบากในการจำ และแยกแยะรูปทรงเรขาคณิตไม่ได้

วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2556
สับปดาห์ที่ 1

     อาจารย์ปฐมนิเทศเกี่ยวกับรายวิชา
     อาจารย์ให้ทำ Mind Mapping เรื่องเด็กพิเศษ และมีตัวแทนห้องออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน