สัปดาห์ที่12
ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจารย์ได้แจกใบความรู้และอธิบายพร้อมให้นักศึกษาทำความเข้าใจตามไปด้วย
พัฒนาการ หมายถึง
การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำสิ่งที่ยากซับซ้อนมากขึ้น
โดยทั่วไปพัฒนาการปกติ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
1.พัฒนาการด้านร่างกาย
2.พัฒนาการด้านสติปัญญา
3.พัฒนาการด้านจิตใจ-อารมณ์
4.พัฒนาการด้านสังคม
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ หมายถึง
เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกันที่สามารถทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
เช่น เด็กอายุ 20 เดือน แต่ยังเดินไม่ได้
ในขณะที่เด็กปกคิเริ่มเรียนรู้ที่จะเดินและเดินได้ในช่วงอายุ 9-15 เดือน
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยด้านชีวภาพ เกี่ยวข้องกับลักษณะทางพันธุกรรมหรือชุดหน่อยของยีนที่เด็กได้รับสืบทอดมาจากมารดาบิดา
-ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด การติดเชื้อ สารพิา
สภาวะทางโภชนาการและการเจ็บป่วยของมารดาส่งผลต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เช่น ภาวะขาดออกซิเจนในขณะคลอด
- ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด ปัจจัยด้านระบบประสาทและสภาพแวดล้อมส่งผลร่วมกันต่อพัฒนาการของเด็ก
เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือเด็กที่ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ แออัด ยากจน
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. โรคพันธุกรรม
2. โรคของระบบประสาท อาการหลักที่เกิดขึ้นในเด็กคืออาการชัก
3. การติดเชื้อ
4. ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอดิซึม ระบบเผาผลานในร่างกาย
พบมากในประเทศไทย สามารถรักษาได้โดยการฉีดฮอโมนในตัว ถ้าไม่รับคือโง่ตลอดกาล
5. ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด เกิดก่อนกำหนด
6. สารเคมี ตะกั่ว
7. การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร เช่น ปฏิกิริยาสะท้อน
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การซักประวัติ
2. การตรวจร่างกาย
3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
-การตรวจทางห้องปฏิบัติทางพันธุกรรม
-การตรวจด้วยเทคนิค FISH
-การตรวจดีเอ็นเอ
-การตรวจรังสีทางระบบประสาท
-การตรวจทางเมตาบอลิก
4. การประเมินพัฒนาการ
-การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
-การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
แนวทางในการดูแลรักษา
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
โดยมาพบถุมารแพทย์และแพทย์ด้านพัฒนาการเด็ก
เพื่อทำการประเมินพัฒนาการเบื้องต้นและหาสาเหตุด้วยเสมอ
2. การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3. การรักษาสาเหตุโดยตรง
4. การส่งเสริมพัฒนาการ
หลักการคือพยายามทำให้มีวิธีการเดียวกับการเลี้ยงดูเด็กทั่วไปในชีวิตประจำวัน
5. ให้คำปรึกษากับครอบครัวในการหาแหล่งความรู้เพิ่มเติมต่างๆ เช่น
หนังสือ หรือเว็ปไซต์เกี่ยวกับเด็กพิเศษ
สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
2. การตรวจประเมินพัฒนาการ
3. การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
4. การให้การรักษาและส่งเสริมพัฒนาการ
5. การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ
บริการที่สำคัญสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1. การตรวจการได้ยิน
2. การให้คำปรึกษาครอบครัว
3. การจัดโปรแกรมการศึกษา
4. บริการทางการแพทย์
5. บริการทางการพยาบาล
6. บริการด้านโภชนาการ
7. บริการด้านจิตวิทยา
8. กายภาพบำบัด
9. กิจกรรมบำบัด
10.อรรถบำบัด