วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์
สัปดาห์ที่15
สัปดาห์นี้อาจารย์สอนในเรื่อง เด็กมีปัญหาทางการเรียนรู้


 LD เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
      เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ (L.D)
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างในกระบวนการพื้นฐาน ทางจิตวิทยาที่เกี่ยวกับความเข้าใจหรือการใช้ภาษา อาจเป็นการพูดและ/หรือภาษาเขียน หรือการคิดคำนวณ รวมทั้งสภาพความบกพร่องในการรับรู้ สมองได้รับบาดเจ็บกาปฏิบัติงานของสมองสูญเสียไป

สาเหตุ 
      การได้รับบาดเจ็บทางสมองเนื่องจากระบบประสาทส่วนกลางได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำงานได้เต็มที่
      กรรมพันธุ์ เนื่องจากงานวิจัยจำนวนมากระบุว่า ถ้าหากพ่อแม่ ญาติ พี่น้องที่ใกล้ชิดเป็นจะมีโอกาส ถ่ายทอดทางพันธุ์กรรม
      สิ่งแวดล้อม เป็นสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การได้รับบาดเจ็บทางสมอง หรือกรรมพันธุ์ เช่น การพัฒนาการช้า เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่ครบ ขาดสารอาหาร มลพิษ การเลี้ยงดู

ลักษณะทั่วไปของเด็ก LD 
      -มีความบกพร่องทางการพูด
      -มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
      -มีปัญหาในการเรียนวิชาทักษะ
      -มีปัญหาในการสร้างแนวความคิดรวบยอด
      -การทดสอบผลการเรียนให้ผลไม่แน่นอนมากแก่การพยากรณ์
      -มีความบกพร่องทางการรับรู้
      -มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหว
      -มีอารมณ์ไม่คงที
      -โยกตัวหรือผงกศีรษะบ่อยๆ
      -มีพัฒนาการทางร่างกายไม่คงที่
      -มีพฤติกรรมไม่คงเส้นคงว่า
      -เสียสมาธิง่ายแสดงพฤติกรรมแปลกๆ
      -มีปัญหาในการสร้างความ สัมพันธ์กับเพื่อน    

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ 2557
สัปดาห์ที่14


ในสัปดาห์นี้อาจารย์สอนเรื่อง เด็กดาวน์ซินโดรม

      1. ด้านสุขภาพอนามัย
 
      2.การส่งเสริมพัฒนาการ
 
      3.การดำรงชีวิตประจำวัน
 
      4.การฟื้นฟูสมรรถภาพ
 

การส่งเสริมพัฒนาการ
     -พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และภาษา
     -สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
     -สังคมยอมรับมากขึ้นไปเรียนร่วมมือเรียนรวมได้
     -ลดปัญหาพฤติกรรม
     -คุณภาพชีวิตดีขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาและทำงานได้ดีขึ้น

Autistic ออทิสติก (ตัวอันตราย/คล้ายๆกับเด็กสมาธิสั้นอยู่ไม่นิ่งอยู่ไม่สุข )
    ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว/สำคัญที่สุด
         -ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก
    ส่งเสริมความสามารถเด็ก
         -การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
         -ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
    การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
         -เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
         -การให้การเสริมแรง ดีก็ชม
    การฝึกพูด (ได้รับจากนักบำบัดการพูด)
        -โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
        -ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติจะเพิ่มมากขึ้น
        -ลดการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
        -ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าว
        -การสื่อความหมายทดแทน (AAc)
   การสื่อความหมายทดแทน
        -การรับรู้ผ่านการมองเห็น
        -โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร PECS
   การส่งเสริมพัฒนาการ
        -ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
        -เน้นในเรื่องการมองหน้าการสบสายตาการมีสมาธิ การฟัง และทำตามคำสั่ง
        -ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู้กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
        -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
        -แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
        -โรงเรียนเรียนรวม ห้องเรียนคู่ขนาน
  การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม ( ต่ำ )
        -ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะสังคม
        -ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
   การรักษาด้วยยา
        -เพื่อบรรเทาอาการไม่ใช่รักษาให้หาย
  การบำบัดทางเลือก
        -การสื่อความมหายทดแทน
        -ศิลปะกรรมบำบัด
        -ดนตรีบำบัด
        -การฝังเข็ม
        -การบำบัดด้วยสัตว์
  พ่อ แม่
        -ลูกต้องพัฒนาได้
        -เรารักลุกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
        -ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
        -หยุดไม่ได้ต้องสู้
        -ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
        -ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
        -ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว


      

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันอังคารที่ 28 มกราคม 2557
สัปดาห์ที่13

  * ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบในรายวิชา *


สิ่งที่ค้นความเพิ่มเติม

ของเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการ(พิเศษ)วัย 0-3ปี
     ของเล่นหรือการเล่น มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ ของเด็กอย่างมาก ถือว่าเป็นกุญแจดอกสำคัญ ที่จะนำไปสู่กระบวน การเรียนรู้ของเด็กในอนาคต ดั้งนั้นถ้าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดู ได้เข้าใจ และสามารถนำของเล่น หรือกิจกรรมการเล่นไปใช้กับเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ทักษะพัฒนาการ และการเรียนรู้ของเด็ก จะก้าวไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อเด็กมีพื้นฐานทางพัฒนาการเด็กที่ดี และเหมาะสมกับวัย เด็กจะสามารถ นำประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาไปประยุกต์ใช้ กับการเรียนรู้ในอนาคตได้ อย่างมีคุณภาพ
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปีทั่วไป

     เด็กวัยนี้เรียนรู้ผ่านการเล่น และเรียนรู้ผ่านทางการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ ตาดู หูฟัง จมูกรับกลิ่น ลิ้นรับรส และผิวหนังรับสัมผัส ในวัยนี้เด็กมักชอบนำของทุกชนิดเข้าปาก โดยใช้ปากในการสำรวจของนั้นๆ ทั้งดูด เลีย อม พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กได้ใช้ทักษะเหล่านี้ โดยหาของเล่นที่มีขนาดเหมาะมือ น้ำหนักเบา ขนาดไม่เล็กจนเกินไป ปลอดภัย ล้างทำความสะอาดง่าย เพื่อให้เด็กได้ฝึกทักษะ ในการใช้มือและตาประสานกัน ในการคว้าจับ เขย่า เอาเข้าปาก พ่อ แม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก  ไม่ควรดึงมือหรือของเล่นออกจากปากเด็ก เพราะจะทำให้เด็กหงุดหงิด อารมณ์เสีย และขาดโอกาสในการใช้ปากสำรวจเพื่อการเรียนรู้ และที่สำคัญพ่อแม่ควรพูดคุย และมีปฎิสัมพันธ์กับลูก ขณะชี้ชวนให้ลูกเล่นอีกด้วย
พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กวัย 0-3 ปี (เด็กพิเศษ)

     เด็กที่มีความต้องการพิเศษ อาจมีความบกพร่องทางพัฒนาการ จำเป็นต้องกระตุ้น การเรียนรู้ของเด็กในทุกด้าน ไม่ว่าจะกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังต้องกระตุ้นการเรียนรู้ ด้วยการใช้ของเล่นที่มีความหลากหลายเพื่อสร้างทักษะ และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่เด็กเหล่านี้ ซึ่งจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมและต้องคำนึงถึงปัญหา ความต้องการและระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละรายด้วย

     ถึงแม้ว่าพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุก็ตาม แต่จะเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ ไม่เหมือนกับเด็กปกติ เด็กพิเศษเหล่านี้ก็สามารถ พัฒนาศักยภาพของตนได้ และอาจจะมีพฤติกรรมของพัฒนาการ ที่แตกต่างกันออกไปตามปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เด็กบางคนอาจคืบ แต่ไม่คลาน แต่จะนั่งและยืน เดินเลย บางคนอาจรู้จัก ไขว่คว้าของเล่น ในทิศทางต่างๆ กัน ชอบเอาของเล่นเข้าปาก แต่บางคนก็ทำไม่ได้

      จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเหลือ ฟื้นฟูศักยภาพของเด็กให้เต็มที่ โดยอาจนำของเล่นให้เด็กได้จับสัมผัส หรือกกระตุ้นให้เด็กได้มีโอกาสนำของเล่นหรือวัสดุต่าง ๆ เข้าปาก เพื่อ กัด, ย้ำ ,เลียเล่น ซึ่งทักษะเหล่านี้ถือเป็นการเรียนรู้ของเด็ก โดยการใช้ปากซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ ในการสัมผัสวัตถุ / ของเล่น การใช้ตา และมือประสานงานกัน สามารถจับวัตถุ / ของเล่น เข้าปาก ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ และได้เรียนรู้การสัมผัสพื้นผิว ที่แตกต่างกันของวัตถุ จากการจับ , กัด , ดูด หรือเลียพ่อแม่หรือผู้ใหญ่บางท่าน อาจไม่เข้าใจถึงพฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ จึงจำกัด หรือห้ามปราม ไม่ให้เด็กเอาของเข้าปาก อาจเพราะกลัวสกปรกหรือสำลัก ซึ่งจะทำให้เด็กหงุดหงิด , อารมณ์เสีย และไม่เกิดการเรียนรู้

      ดังนั้นพ่อแม่ และผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดควรเข้าใจ ในพฤติกรรมของเด็ก และส่งเสริมการเรียนทักษะเหล่านี้ ให้ถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งดูแลเรื่องความปลอดภัย ในการเล่นของลูก โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่น ควรที่จะมีขนาดใหญ่ สีสันปลอดภัย จับ / กำถนัดมือ สามารถให้เด็กได้สัมผัสผ่านการกัด , ดูด , เลียได้ ขนาดและน้ำหนัก ต้องเหมาะสมกับเด็กแต่ละคน สามารถล้าง / ซัก อุปกรณ์ของเล่นได้ เมื่อสกปรก ตลอดทั้งพ่อแม่หรือพี่เลี้ยงเด็ก ควรมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ระหว่างการเล่นอีกด้วย อย่าปล่อยให้เด็กเล่นคนเดียว เพราะเด็กยังไม่รู้จักว่าของเล่นแต่ละชิ้น มีวิธีการเล่นอย่างไร

ขอบคุณบทความจาก : baby2talk.com
รูปภาพจาก : Internet